วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

                      บทนมัสการมาตปิตุคุณ




   ข้าขอนบชนกคุณ                ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                             ผดุงจวบเจริญวัยฟูมฟักทะนุถนอม                       บ บำราศนิราไกลแสนยากเท่าไรไร                      บ คิดยากลำบากกาย                                          ตรากทนระคนทุกข์                    ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วายปกป้องซึ่งอันตราย                    จนได้รอดเป็นกายาเปรียบหนักชนกคุณ                   ชนนีคือภูผาใหญ่พื้นพสุนธรา                         ก็ บ เทียบ บ เทียมทันเหลือที่จะแทนทด                       จะสนองคุณานันต                                                                                                  แท้บูชไนยอัน                                อุดมเลิศประเสริฐคุณ”                    

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง     ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา                                      
ถอดความ     บทกวีนี้ กล่าวนอบน้อมพระคุณของบิดามารดา ผู้ได้เกื้อกูลมาตั้งแต่เล็กจนเติบโต   คอยเฝ้าระวังรักษาประคับ ประคองดูแลอยู่ไม่ยอมห่าง  แม้จะ ลำบากเท่าไรก็อดทนได้ เลี้ยงลูกอย่างทะนุถนอม ปกป้องอันตราย จนรอดพ้นอันตราย เติบใหญ่  เป็นตัวเป็นตน เปรียบประคุณของบิดามารดายิ่งกว่าภูเขา  หรือแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนพระคุณ มากล้นนี้ได้ด้วยการบูชาอันวิเศษสมบูรณ์เลิศล้ำ

เรื่องมหาชติหรือมหาเวสสันดร

           เรื่องมหาชติหรือมหาเวสสันดร




                 พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาแต่ครั้งโบราณว่า มหาเวศสันดรเป็นชาดกที่สำคัญกว่าชาดกเรื่องอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่โดยบนิบูรณ์ทั้ง ๑๐ บารมี  นอกจากนี้ยังมีผู้นำมหาเวสสันดรชาดกไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายสำนวน และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์ กาพย์ ลิลิต และร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับ

เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์

                                        เรื่อง มงคลสูตรคำฉันท์


เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์
โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

                                               เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี


             
   บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

                                                เรื่องหัวใจชายหนุ่ม

          
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์  ดุสิตสมิต เมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน

การวิจักษ์วรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดี


วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
วิจักษณ์ หมายถึง ที่เห็นแจ้ง ที่เห็นแจ้ง ฉลาด มีสติปัญญา เชี่ยวชาญ ชำนาญ

การวิจักษ์วรรณคดี จึงหมายถึง การอ่านวรรณคดีโดยใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรอง กลั่นกรอง แยกแยะ และแสวงหาเหตุผล ประเมินคุณค่าของวรรณคดีได้อย่างมีเหตุผล และพิจารณาได้ว่า หนังสือแต่ละเรื่องแต่งดีแต่งด้อยอย่างไร ใช้ถ้อยคำและสำนวนภาษาได้ไพเราะหรือลึกซึ้งเพียงใด ให้คุณค่า ความรู้ ข้อคิด และคติสอนใจ หรือถ่ายทอดให้เห็นสภาพชีวิต ความคิด ความเชื่อของคนในสังคมอย่างไร

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นิราศนรินทร์คำโคลง

 นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทน์คำโคลงมีลักษณะเป็นนิราศแท้ คือมีเนื้อหาสำคัญอยู่ที่การคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักที่กวีจากมา ส่วนรายละเอียดอื่นๆ เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้นเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่านิราศนรินทน์คำโคลงเป็นนิราศที่มีความไพเราะที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
                                                                         อยุธยายศล่มแล้ว               ลอยสวรรค์ ลงฤา
                                                         
สิงหาสน์ปรางค์รัตน์บรร-         เจิดหล้า
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ศาสน์รุ่ง เรืองแฮ
                                                         
บุญเพรงพระหากสรรค์             ฝึกฟื้นใจเมือง
                                                         
เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น               พันแสง
                                                         
รินรสพระธรรมแสดง                ค่ำเช้า
                                                         
เจดีย์ระดะแซง                       เสียดยอด
                                                         
ยลยิ่งแสงแก้วเก้า                  แก่นหล้าหลากสวรรค์
                                                         
เอียงอกเทออกอ้าง                อวดองค์ อรเอย
                                                         
เมรุชุบสมุทรดินลง                 เลยแต้ม
                                                         
อากาศจักจารผจง                  จารึก พอฤา
                                                         
โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม              อยู่ร้อนฤาเห็น

นิทานเวตาลเรื่องที่10

                                       เรื่อง นิทานเวตาล (เรื่องที่ 10)

นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461

อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง


                           อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง



อิเหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงปรับแก้ให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง และรสนิยมของคนไทย  ในดินแดนชวาโบราณ มีกษัตริย์วงศ์หนึ่งที่ชื่อว่า วงศ์สัญแดหวาหรือวงศ์เทวา สืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้านามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น จะใช้คำนำหน้านามว่า ระตู โดยที่ท้าวปะตาระกาหลา มีโอรส 4 พระองค์ ครองเมือง 4 เมือง ได้แก่ องค์แรกครองเมืองกุเรปัน ชื่อ ท้าวกุเรปัน องค์ที่สองครองเมืองดาหา ชื่อท้าวดาหา  องค์ที่สามครองเมืองกาหลัง ชื่อท้าวกาหลัง และองค์ที่สี่ครองเมืองสิงหัดส่าหรี ชื่อท้าวสิงหัดส่าหรี

คำนมัสการคุณานุคุณ

                              คำนมัสการคุณานุคุณ



                  
               เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๑.      ความเป็นมา
คำนมัสการคุณานุคุณที่คัดมาให้ศึกษามีเนื้อหาแบ่งออกเป็น ๕ ตอน แต่ละตอนมีที่มาจากคาถาภาษาบาลี ดังนี้
คำนมัสการพระพุทธคุณ : อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ
-                   พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
      คำนมัสการพระธรรมคุณ :สวาก ขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมังนะมัสสามิ
      คำนมัสการพระสังฆคุณ : สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สังฆัง นะมามิ
     คำนมัสการมาตาปิตุคุณ : มารดาทั้งสองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณอันหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าขอไหว่เท้าทั้งสองของมารดาบิดาของข้าพเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูง
     คำนมัสการพระอาจริยคุณ : ครูอาจารย์ผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งหลายล้วนเป็นผู้มีพระคุณอันประเสริฐยิ่ง ได้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์มีวิชาความรู้ ได้ให้โอวาทตักเตือนด้วยเมตตาธรรม ข้าพเจ้าขอกราบไว้คุณครูอาจารย์เหล่านั้นด้วยความเคารพ
๒.    ประวัติผู้แต่ง
          พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารกูร) เป็นนักปราชญ์คนสำคัญของไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้รอบรู้ในวิชาภาษาไทยและได้ชื่อว่าเป็นข้าราชการที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งยังเป็นครูที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม อุทิศชีวิตเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติอีกด้วย
๓.    ลักษณะคำประพันธ์
         คำนมัสการคุณานุคุณแต่ละตอนแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทต่างๆดังนี้
         ๓.๑ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
               อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่นำมาแต่งคำนมัสการคุณานุคุณ มาตาปิตุคุณ และอาจริยคุณ มีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
 
   ๓.๒ กาพย์ฉบัง ๑๖
                    กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่นำมาแต่งคำนมัสการพระธรรมคุณและพระสังฆคุณมีลักษณะบังคับ ดังแผนผังต่อไปนี้
      ๔.    เนื้อเรื่อง
                                                       คำนมัสการพระพุทธคุณ
   อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
                                             องค์ใดพระสัมพุทธ              สุวิสุทธะสันดาน
                                             ตัดมูลกิเลสมาร                   บ่มิหม่นมิหมองมัว
                                             หนึ่งในพระทัยท่าน             ก็เบิกบานคือดอกบัว
                                             ราคีบ่พันพัว                         สุวคนธะกำจร
                                             องค์ใดประกอบด้วย            พระกรุณาดังสาคร
                                             โปรดหมู่ประชากร              มละโอฆะกันดาร
                                             ชี้ทางบรรเทาทุกข์                และชี้สุขเกษมสานต์
                                             ชี้ทางพระนฤพาน                อันพ้นโศกวิโยคภัย
                                            พร้อมเบญจพิธจัก-              ษุจรัสวิมลใส
                                             เห็นเหตุที่ใกล้ไกล               ก็เจนจบประจักษ์จริง
                                            กำจัดน้ำใจหยาบ                 สันดานบาปแห่งชายหญิง
                                            สัตว์โลกได้พึ่งพิง                มละบาปบำเพ็ญบุญ
                                            ลูกขอประณตน้อม              ศิรเกล้าบังคมคุณ
                                            สัมพุทธการุญ-                    ยภาพนั้นนิรันดร ฯ